? ??????????????????? ????Easy Install Instructions:???1. Copy the Code??2. Log in to your Blogger account
and go to "Manage Layout" from the Blogger Dashboard??3. Click on the "Edit HTML" tab.??4. Delete the code already in the "Edit Template" box and paste the new code in.??5. Click "S BLOGGER TEMPLATES AND TWITTER BACKGROUNDS ?

วันพุธที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ใบงานที่ 11 แสดงความคิดเห็นต่ออาจารย์

ใบงานที่ 11 แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับผู้สอน

มีความรู้สึกยินดี และดีใจมากๆ ที่ได้เรียนกับอาจารย์ และจากการที่ได้เรียนกับอาจารย์ ทำให้ได้ความรู้เพิ่มมากขึ้น ทั้งในเรื่องของเทคโนโลยี ความรู้ใหม่ ๆ ที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวัน อาจารย์สอนได้เข้าใจดีมาก และความรู้ที่ได้รับสามารถนำมาใช้ในการทำงานได้หมด เป็นสิ่งที่คุ้มค่าที่สุด แต่จะบางครั้ง อาจารย์สอนเร็ว ตามอาจารย์ไม่ทัน อยากให้อาจารย์สอนช้า ๆ ลงสักนิด และถ้ามีโอกาสได้เรียนต่อที่นี่อีก ก็ต้องการจะเรียนกับอาจารย์อีกเช่นกัน

ใบงานที่ 9 ลักษณะผู้บริหารมืออาชีพ

ผู้บริหารการศึกษามืออาชีพ
“ผู้บริหารมืออาชีพ” ยังเป็นคำที่ค่อนข้างใหม่สำหรับวงการศึกษาเพิ่งจะเริ่มเป็นที่กล่าวถึงมากขึ้นก็เมื่อมีการปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ซึ่งในหมวด 7 ได้กำหนดไว้ว่า ทั้งผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษา ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพตามกฎหมายกำหนด คำว่า ผู้บริหารมืออาชีพ (Professional Administrator) เป็นคำที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน การจะเป็นมืออาชีพได้นั้น ต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่างผสมผสานกับประสบการณ์ ความรู้ จากการวิเคราะห์ สังเคราะห์คุณลักษณะของผู้บริหารมืออาชีพ ต้องมีคุณลักษณะที่สำคัญ ดังนี้
1.1 การมีภาวะผู้นำLeadership ซึ่งจะต้องมีองค์ประกอบของความรู้ความเข้าใจ (Knowledge) การรู้จักตัดสินใจ (decision making) รู้จักและสามารถนำเอาวิธีการและกลยุทธในการแก้ไขปัญหา (problem solving)มาใช้ในการปฎิบัติงานในหน้าที่ได้ และเป็นบุคคลที่มีความสามารถในการเป็นผู้นำที่กำหนดทิศทางขององค์กรและเพื่อนร่วมงานได้เป็นอย่างดี (lead direction) สร้างพลังในการทำงานเป็นทีม (team work) และการมีส่วนร่วมของเพื่อนร่วมงาน ตลอดจนเป็นผู้ที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (Initiative) เป็นต้น
1.2 เป็นบุคคลที่สามารถเป็นแบบอย่างที่ดีและมีความรับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ที่ได้รับหรืออยู่ในขอบข่ายของภารกิจที่รับผิดชอบอย่าง (Role Model & Responsibility)
1.3 มีทักษะในการสื่อสาร(Communication skill) ที่เป็นเลิศ ที่สามารถสื่อสารทั้งทางตรง ทางอ้อม ที่ทำให้เพื่อนร่วมงานหรือผู้ที่อยู่ใต้การบังคับบัญชาสามารถเข้าใจง่าย และเข้าถึงในสิ่งที่เราต้องการสื่อสาร
1.4 เป็นบุคคลที่มีวิสัยทัศน์ (vision) มีความคิดและมุมมองที่กว้าง และเป็นผู้ที่มองการณ์ไกล
1.5 เป็นผู้ที่ยอมรับและเป็นผู้สร้างกระบวนการเรียนรู้ที่จะนำองค์กรไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้(Knowledge Based Organization)
1.6 ใช้หลักธรรมภิบาลในการบริหารงาน
หลักนิติธรรม (The Rule of Law) หลักคุณธรรม (Morality) หลักความโปร่งใส (Accountability) หลักการมีส่วนร่วม (Participation) หลักความรับผิดชอบ (Responsibility )
หลักความคุ้มค่า (Cost – effectiveness or Economy)
1.7 มีคุณลักษณะเป็น คนเก่ง กล้า และใหม่ คือ เป็นคน 3 เก่ง เป็นคน 3 กล้า และเป็นคนรุ่นใหม่ 3 ใหม่
ลักษณะคนเก่ง 3 เก่ง คือ เก่งคิด เก่งคน เก่งงาน
ลักษณะคนกล้า 3 กล้า คือ กล้าตัดสินใจ กล้าเสี่ยง กล้าเปลี่ยนแปลง
ลักษณะคนรุ่นใหม่ 3 ใหม่ คือ พัฒนาระบบงานและนวัตกรรมใหม่,สร้างวัฒนธรรมองค์กรใหม่ และแสวงหาความรู้ใหม่

ใบงานที่ 8

ใบงานที่ 8
ความหมายของสถิติ
สถิติมีความหมาย 2 อย่างคือ
1 หมายถึง ตัวเลขหรือกลุ่มของตัวเลขที่แสดงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องหนึ่งแรื่องใดเช่นสถิติเกี่ยวกับปริมานน้ำฝน สถิติการเกิดอัคคีภัย เป็นต้น
2 หมายถึง วิชาที่เป็นทั้งวิทยาศาสตร์และศิลป ว่าด้วยการศึกษาที่เกี่ยวกับข้อมูล ซึ่งประกอบด้วย การเก็บรวบรวมข้อมูล ( collection of date) การนำเสนอข้อมูล( presentation of date)
การวิเคราะข้อมูล (analysis of date) ความหมายข้อมูล (interpretation of data )
ในความหมายที่สอง หมายถึง วิธีการที่เริ่มต้นตั้งแต่การเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งมีหลายวิธีเพราะต้องเก็บข้อมูลที่ถูกต้อง เหมาะสม ถ้าได้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง หรือไม่เหมาะสมข้อมูลเหล่านี้ย่อมใช้ไม่ได้ หรือใช้ได้แต่เพียงส่วนน้อยข้อมูลที่เก็บรวบรวมมา จำเป็นจะต้องมีการนำมาจัดใหม่ให้ดูง่ายหรือเป็นระเบียบ การจัดข้อมูลใหม่อาจใช้ตาราง กราฟ หรือรูปภาพขั้นตอนนี้เรียกว่าการนำเสนอข้อมูล
ค่าเฉลี่ย ( Mean) หมายถึง ค่าที่ได้จากการนำคะแนนทั้งหมดมารวมกันแล้วหารด้วยจำนวนคะแนนทั้งหมด
มัธยฐาน (Median) หมายถึงค่าคะแนนที่อยู่ตรงกลางของข้อมูลแต่ละชุดเมื่อรียงลำดับข้อมูลจากมากไปหาน้อยหรือจากน้อยไปหามาก
ฐานนิยม (Mode) หมายถึงค่าของคะแนนที่มีความถี่สูงสุดของข้อมูลชุดหนึ่ง ๆ ถ้าข้อมูลชุดใดมีค่าความถี่สูงสุดมากกว่า 1 ค่า ข้อมูลชุดนั้นก็มีฐานนิยมมากกว่า 1 ค่า หรือถ้าข้อมูลชุดใดมีค่าความถี่สูงสุดเท่า ๆ กันทุกค่า ข้อมูลนั้นไม่มีฐานนิยม
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standand deviation) หมายถึง รากที่สองของค่าเบี่ยงเบนของข้อมูลแต่ละตัวจากค่าเฉลี่ยยกกำลังสอง เป็นการวัดการกระจายที่บอกว่า ข้อมูลแต่ละตัวกระจายไปจากตำแหน่งมากน้อยเพียงใด ถ้าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่ามากแสดงว่าข้อมูลของแต่ละคนในกลุ่มแตกต่างกันมาก ถ้ามีค่าน้อยแสดงว่า แสดงว่าข้อมูลของแต่ละคนในกลุ่มนั้นใกล้เคียงกัน
ประชากร (Population) หมายถึง หน่วยของข้อมูลทุกหน่วยที่อยู่ในขอบเขตของการวิจัยอาจจะเป็น คน สัตว์ สิ่งของ หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ หน่วยของข้อมูลจะมีมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการวิจัยว่าสนใจจะศึกษาขอบเขตแค่ไหน
กลุ่มตัวอย่าง (Sample) หมายถึง หน่วยของข้อมูลบางหน่วยที่ถูกเลือกมาจากประชากรเพื่อใช้เป็นตัวแทนของประชากรทั้งหมด และผู้วิจัยจะศึกษากับกลุ่มที่เป็นตัวแทนนี้แล้วอ้างอิงไปยังประชากร
ประชากรเป็นหน่วยของข้อมูลทุกหน่วยที่อยู่ในขอบเขตของการวิจัย และกลุ่มตัวอย่างเป็นหน่วยข้อมูลบางหน่วยที่ถูกเลือกมาจากประชากร หรือกล่าวว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นส่วนหนึ่งของประชากร
นามบัญญัติ เป็นการวัดทีกำหนดชื่อหรือตัวเลขให้แก่สิ่งต่าง ๆ ข้อมูลที่ได้เป็นการจะแนกกลุ่มหรือประเภทเพียงอย่างเดียว
เรียงลำดับที่ เป็นการวัดโดยการจัดอันดับให้แก่สิ่งของของต่าง ๆ ข้อมูลที่ได้บ่งบอกถึงการจำแนกกลุ่ม และเรียนลำดับความมากน้อย
ระดับช่วง เป็นการวัดโดยการแบ่งช่วงสิ่งที่ต้องการศึกษาออกป็นช่วง ๆ โดยแต่ละช่วงมีขนาดเท่ากัน
อัตราส่วน เป็นการวัดโดยการแบ่งช่วงของสิ่งที่ต้องการศึกษาออกเป็นช่วง ๆ เหมือนอันตรภาคชั้นแต่มาตรานี้มีศูนย์แท้

ความหมายของตัวแปร
ตัวแปร (variable) หมายถึง คุณลักษณะที่สามารถแปรเปลี่ยนหรือเปลี่ยนค่าได้ ซึ่งต้องมีอย่างน้อย 2 ค่า เช่น เพศ แปรค่าได้เป็น เพศชาย ละเพศหญิง ระดับการศึกษา แปรค่าได้หมายค่า เช่น ต่ำกว่าปริญญาตรี ปริญญาตรี สูงกว่าปริญญาตรี
ตัวแปรต้น (Independent variable) หมายถึง ตัวแปรที่เป็นต้นเหตุหรือตังแปรที่มาก่อนตัวแปรตาม เช่น ตัวแปรอาชีพกับตัวแปรรายได้ อาชีพย่อมเกิดขึ้นก่อนรายได้ อาชีพจึ้งเป็นตัวแปรต้น
ตัวแปรตาม (Dependent variable) หมายถึง ตัวแปรที่มาทัหลัง หรือตัวแปรที่เป็นผลตามมาจากการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรต้น
สมมุติฐาน (Hypothesis) หมายถึง เป็นการค่ดคะเนความสืพันธ์ของตัวแปรตั้งแต่สองตัวขึ้นไปไว้ล่วงหน้าอย่างมีเหตุผลเพื่อตอบปัญญาวิจัย
สมมุติฐานแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ สมมมุติฐานการวิจัย และสมมุติฐานทางสถิติ
1. สมมมุติฐานการวิจัย (Research hypothesis) แบ่งได้ดังนี้
1.1 สมมุติฐานแบบมีทิศทาง
1.2 สมมุติฐานแบบไม่มีทิศทาง
2. สมมุติฐานทางสถิติ (Directional hypothesis)
2.1 สมมุติฐานหลัก
2.2 สมมุติฐานรอง
2.2.1 สมมุติฐานแบบไม่มีทิศทาง
2.2.2 สมมุติฐานแบบมีทิศทาง
T- test เป็นการทดสอบนัยสำคัญของค่าเฉลี่ย เหมาะสำหรับตังแปรเชิงปริมาณที่สามารถวัดค่าได้
F- test หรือ ANOVA เป็นการทดสอบนัยสำคัญของค่าเฉลี่ยตั้งแต่สองกลุ่มขึ้นไป

ใบงานที่ 7

ใบงานที่ 7
การทำ Wedboard ให้สวยงาม

การใส่ Glitter ใน Blog
1.คลิกเลือก tab “โค้ด HTML”
2.จากนั้นจึงนำโค้ด embed ของ Glitter ที่เราต้องการใส่ลงไป
ตัวอย่างโค้ด embed จากเว็บไซต์ http://widget.sanook.com
3.เมื่อคลิกกลับมาที่ tab “มุมมองปรกติ” อีกครั้ง ก็จะเห็นกลิตเตอร์น่ารักๆ
4.ตกแต่ง Blog ให้สวยงามแล้วคลิกปุ่ม “บันทึก” ก็เสร็จเรียบร้อยค่ะ

วิธีแรก ปรับให้หัวข้อเรื่อง หรือ keyword มาก่อน description ตรง title bar
1. ไปที่ Layout -> Edit HTML
2. หา
3. แทนที่ด้วย code

ทำภาพสไลด์โชว์รูปสวยๆ ใส่บล็อก ด้วยเว็บ slide.com
เมื่อเข้าไปหน้าแรกแล้วจะเห็นปุ่ม browse
ให้คลิกปุ่ม browse เลือกรูปของเรา แล้วก็เลือก skins เลือก themes ,effects ต่างๆเยอะแยะ และสามารถเอาเพลงใส่ได้ด้วย เมื่อเลือกตกแต่งจนพอใจแล้ว ก็จะได้โค๊ดมา ให้เอาโค๊ดนั้นไปใส่ในบล็อก

วิธีใส่เพลงในบล็อก
ถ้าเราต้องการจะใส่เพลงใน entryปรับหน้า ให้สามารถใช้ Code Html ก่อน
แล้วจึงนำ Code… ต่อไปนี้ ใส่ไปนะคะ

วันเสาร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2552

song


Happy Vampires โหลดเพลงแกรมมี่แบบไม่ยั้ง แค่เดือนละ 20 บาท Click ที่นี่เลย

วันพฤหัสบดีที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ใบงานที่ 6

ใบงานที่ 6

นางพัชรียา เสนีย์ 5246701010

การใช้งาน Google

ปัจจุบันการใช้งาน Internet จะปรากฏ Web Site ให้เราสามารถเยี่ยมชมได้มากมายหลายประเภท และได้มีการบรรจุข้อมูลข่าวสารอยู่ใน Web Site ต่าง ๆ ซึ่งถ้าเราต้องการค้นหาข้อมูลที่อยู่ในระบบ Internet1 เราอาจใช้อุปกรณ์ Tools ที่เรียกว่า ตัวค้นหา (Search Engire) โดยตัวค้นหา (Search Engire) นี้จะถูกบรรจุอยู่ใน Web Site ต่าง ๆ เช่น www.google.com ,www.yahoo.com, www.lycos.com ในเอกสารนี้จะแนะนำถึงการใช้งานค้นหา (Search Engire) ของ www.google.com ซึ่งจำเป็นตัวค้นหา (Search Engire) ที่นิยมใช้มากสุดและมีฐานข้อมูล (data base) ของ Web Site ต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก ซึ่งจะมีรูปแบบที่มีคำอธิบายการใช้งานเป็นภาษาไทยที่ Web Site www.google.co.th

สืบค้นจาก www.google.co.th

การค้นหาข้อมูลขั้นสูงมีวิธีการอย่างไรและหมวดหมู่ในการใช้ Google

กูเกิล เสิร์ช Google Search เว็บไซต์เสิร์ชเอนจินค้นหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต มีให้บริการมากกว่า 100 เพิ่มรูปภาพภาษา

กูเกิล กรุ๊ปส์ Google Groups บริการเว็บบอร์ด และสร้างเว็บไซต์ของกลุ่ม

กูเกิล ค้นหารูปภาพ Google Image Search บริการค้นหารูปภาพออนไลน์

กูเกิล แคเลนเดอร์ Google Calendar บริการปฏิทินและจดวันนัดหมาย

จีเมล Gmail บริการอีเมล

กูเกิล ไซต์ไกสต์ Google Zeitgeist บริการเปิดให้ดูคำค้นหา คำนิยม รูปแบบ และแนวโน้มในการค้นหาผ่านกูเกิลเสิร์ช

กูเกิล ด็อกส์ Google Docs บริการใช้งานซอฟต์แวร์สำนักงานรวมถึง เวิร์ด สเปรดชีต พรีเซนเตชัน ให้ผู้ใช้สามารถได้ฟรีออนไลน์ โดยเพิ่มเติมความสามารถในการแชร์และให้ผู้ใช้หลายคนสามารถแก้ไขไฟล์เดียวกันพร้อมกันได้โดยผู้ใช้ โดยเริ่มพัฒนาจากซอฟต์แวร์ ไรต์รี (Writely) และ กูเกิล สเปรดชีตส์ (Google Spreadsheet) เปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อ 17 กันยายน พ.ศ. 2550

กูเกิล ทรานซเลต Google Translate บริการแปลข้อความผ่านเว็บไซต์ รวมถึงแปลเว็บไซต์ทั้งหน้า

บล็อกเกอร์ Blogger บริการเขียนบล็อก

กูเกิล บล็อกเสิร์ช Blog Search บริการค้นหาบล็อก

ปีกาซา Picasa เว็บไซต์เก็บภาพ ใช้งานคู่กับซอฟต์แวร์ปีกาซา

กูเกิล เพจ Google Page บริการสร้างเว็บไซต์

กูเกิล แมปส์ Google Maps บริการแผนที่ ค้นหาที่อยู่ ค้นหาธุรกิจและร้านอาหาร

ยูทูบ YouTube บริการแชร์วิดีโอ

กูเกิล วิดีโอ Google Video บริการค้นหาวิดีโอออนไลน์

กูเกิล เว็บมาสเตอร์ Google Webmaster ให้บริการเครื่องมือสำหรับเว็บมาสเตอร์ ตรวจสอบเว็บไซต์ ค้นหาดัชนีการค้นหาผ่านกูเกิล ตรวจสอบโรบอตไฟล์

กูเกิล สกอลาร์ Google Scholar บริการค้นหาวารสาร หนังสือ สิ่งตีพิมพ์ทางวิชาการ

กูเกิล สกาย Google Sky ดูดาว และระบบสุริยะจักรวาลผ่านเว็บไซต์

กูเกิล สารบบเว็บ Google Directory ค้นหาข้อมูลตามหมวดหมู่ ข้อมูลจาก ดีมอซ

ออร์กัต Orkut เครือข่ายสังคมออนไลน์ลักษณะคล้ายกับ ไฮไฟฟ์ และเฟซบุ้ก ออกแบบโดยวิศวกรกูเกิลชาวตุรกี ออร์กัต บือยืกเคิกเทน (Orkut Büyükkökten) เปิดใช้งานเมื่อ มกราคม 2547

กูเกิล แอดเซนส์ Google AdSense ให้บริการโค้ดสำหรับติดตั้งโฆษณาบนเว็บไซต์ ทำงานคู่กับแอดเวิรดส์

กูเกิล แอดเวิรดส์ Google AdWords บริการโฆษณาผ่านเว็บไซต์ที่ติดตั้งแอดเซนส์

กูเกิล แอนะลิติกส์ Google Analytics บริการนับสถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์ พร้อมระบบวิเคราะห์ผู้ใช้งาน

กูเกิล แอปส์ Google Apps บริการใช้งานผลิตภัณฑ์และบริการของกูเกิลผ่านทางชื่อโดเมนส่วนตัว โดยแอปพลิเคชันที่สามารถใช้งานได้เช่น จีเมล แคเลนเดอร์ ทอล์ก ด็อกส์ โดยมีการให้บริการทั้งฟรีและเสียเงิน

ไอกูเกิล iGoogle ในชื่อเดิม เพอร์เซอนอลไลส์ ให้บริการทำหน้าเริ่มต้นในการเข้าชมเว็บไซต์ โดยสามารถนำเว็บฟีดและแกเจ็ต จากเว็บอื่นมารวมได้

สืบค้นจากhttp://th.wikipedia.org/wiki/Google#.E0.B8.AD.E0.B9.89.E0.B8.B2.E0.B8.87.E0.B8.AD.E0.B8.B4.E0.B8.87

Webที่ใช้ค้นหาข้อมูล นอกจาก google แล้วมีอะไรอีก บอกชื่อ Web

ค้นหาข้อมูลจาก Search Engine ยอดนิยม 12 ตัว
และส่งเวบไซต์คุณไปยัง Search Engine ยอดนิยม 12 ตั

1. Lycos

2. Altavista or Advance altavista

3. Yahoo

4. Yahooligans

5. Excite

6. Hotbot

7. Infoseek

8. Magellan

9. Advance altavista

10.Hotsearch (Thai Search engine)

11.HotSearch Search, Advanced Query

12.Free Top Ten Search Engine Submission!

สืบค้นจาก http://www.thaiwebhunter.com/akesearch.html

วันอังคารที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ใบงานครั้งที่ 4

นางพัชรียา เสนีย์ 5246701010

ใบงานครั้งที่ 4
การจัดการความรู้ คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในส่วนราชการซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด โดยที่ความรู้มี 2 ประเภท คือ
1. ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม
2. ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม

สืบค้นจาก www.tistr.or.th/KM/index.php?option=com

กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management) เป็นกระบวนการที่จะช่วยให้เกิดพัฒนาการของความรู้ หรือการจัดการความรู้ที่จะเกิดขึ้นภายในองค์กร มีทั้งหมด 7 ขั้นตอน คือ
1. การบ่งชี้ความรู้ เป็นการพิจารณาว่าองค์กรมีวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ เป้าหมายคืออะไร และเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เราจำเป็นต้องใช้อะไร ขณะนี้เรามีความรู้อะไรบ้าง อยู่ในรูปแบบใด อยู่ที่ใคร
2. การสร้างและแสวงหาความรู้ เช่นการสร้างความรู้ใหม่ แสวงหาความรู้จากภายนอก รักษาความรู้เก่า กำจัดความรู้ที่ใช้ไม่ได้แล้ว
3. การจัดความรู้ให้เป็นระบบ เป็นการวางโครงสร้างความรู้ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเก็บความรู้อย่างเป็นระบบในอนาคต
4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้ เช่น ปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐาน ใช้ภาษาเดียวกัน ปรับปรุงเนื้อหาให้สมบูรณ์
5. การเข้าถึงความรู้ เป็นการทำให้ผู้ใช้ความรู้เข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) Web board บอร์ดประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
6. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ ทำได้หลายวิธีการ โดยกรณีเป็น Explicit Knowledge อาจจัดทำเป็นเอกสาร ฐานความรู้ เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือกรณีเป็น Tacit Knowledge จัดทำเป็นระบบ ทีมข้ามสายงาน กิจกรรมกลุ่มคุณภาพและนวัตกรรม ชุมชนแห่งการเรียนรู้ ระบบพี่เลี้ยง การสับเปลี่ยนงาน การยืมตัว เวทีแลกเปลี่ยนความรู้ เป็นต้น
7. การเรียนรู้ ควรทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน เช่นเกิดระบบการเรียนรู้จากสร้างองค์ความรู้ การนำความรู้ในไปใช้ เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่ และหมุนเวียนต่อไปอย่างต่อเนื่อง
สืบค้นจาก http://www.dopa.go.th/iad/km/km_des.html

แหล่งข้อมูล คือ สถานที่ที่สามารถ ค้นคว้า สืบค้น เรียนรู้ ข้อมูลต่างๆแต่ละประเภทตามที่เราต้องการและอยู่ในรูปลักษณะที่ แตกต่างกันออกไป ตามที่แหล่งข้อมูลนั้นๆจะนำเสนออกมายิ่งในปัจจุบันจะมีรูปแบบในการนำเสนอ ที่หลากหลายมาก จนเราตามไม่ทันและมีข้อมูลมากมายมหาศาล ให้เราได้เรียนรู้ สืบค้น ค้นคว้า มาใช้ในการเรียนและงานต่างๆ มากมาย
ตัวอย่างแหล่งข้อมูล ที่มีในปัจจุบัน
1. สื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ
2. ซีดี วีซีดี ดีวีดี วีดีโอ ภาพยนต์
3. สถานที่ต่างๆ ห้องสมุด โบราณสถาน สถานที่ท่องเที่ยว
4. เทคโนโลยีต่างๆ ทีวี วิทยุ ระบบอินเทอร์เน็ต ดาวเทียม

สืบค้นจาก http://www.ketkwanchai.info/ebook2/f6.htm

แหล่งข้อมูลแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ 1. แหล่งข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) หมายถึง ข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมหรือบันทึกจากแหล่งข้อมูลโดยตรง ซึ่งอาจจะได้จาก การสอบถาม การสัมภาษณ์ การสำรวจ และการจดบันทึก ตลอดจนการจัดหามาด้วยเครื่องจักรอัตโนมัติ เช่น เครื่องอ่านรหัสแท่ง (บาร์โด้ด : Barcode) เครื่องอ่านแถบแม่เหล็ก
2. แหล่งข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) หมายถึง ข้อมูลที่มีการรวบรวมไว้เรียบร้อยแล้ว บางครั้งอาจมีการประมวลผลเป็นสารสนเทศ แล้ว เช่น สถิติการนำเข้าและส่งออกสินค้า เป็นต้น

สืบค้นจาก http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/tech02/08/2/webit/p5.html

เครือข่ายการเรียนรู้ (Learning Network) หมายถึง การแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด ข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ และการเรียนรู้ระหว่างบุคคล กลุ่มบุคคล องค์การ และแหล่งความรู้ที่มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง จนเป็นระบบที่เชื่อมโยงกัน ส่งผลให้เกิดการเผยแพร่และการประยุกต์ความรู้ใหม่ๆ เพื่อวัตถุประสงค์ทางวิชาชีพหรือทางสังคม

สืบค้นจาก http://www.trang.psu.ac.th/learning2teach/index.php?option=com_content&task=view&id=60&Itemid=34

สารสนเทศ คือ ข้อมูล ข่าวสาร ข่าว ข้อเท็จจริง ความคิดเห็น หรือประสบการณ์ อยู่ในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป เช่น ตัวอักษร ตัวเลข รูปภาพ เสียงสัญลักษณ์ หรือกลิ่น ที่ถูกนำมาผ่านกระบวนการประมวลผล ด้วยวิธีการที่ เรียก ว่า กรรมวิธีจัดการข้อมูล (Data Manipulation) และผลที่ได้อาจแสดงผลออกมาในรูปแบบของสื่อประเภทต่าง เช่น หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ แผนที่ แผ่นใส ฯลฯ และเป็นผลลัพธ์ที่ผู้ใช้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างถูกต้อง ตรงและทันกับความต้องการ

สืบค้นจาก www.panyathai.or.th/wiki/index.php

Search Engine

Search Engine


1. แบบอาศัยการจัดเก็บข้อมูลเป็นหลัก Crawler Based Search Engines หมายความว่าเว็บ Search Engine ประเภทนี้ต้องทำการเข้าไปจัดเก็บข้อมูลซึ่งอยู่ในรูปของ ข้อความ รูปภาพ Link หรือสิ่งต่างๆ ที่อยู่บนเว็บเพจต่างๆ ในอินเทอร์เน็ตจากนั่นก็จะนำข้อมูลมาเก็บไว้ในเซฟเวอร์ Server ของตนเอง สร้างซอฟแวร์ที่จะเป็นชุดคำสั่งที่ใช้ในการประมวลผลและแสดงผลเมื่อเวลามีผู้ ใช้อินเทอร์เน็ตเข้ามาใช้งาน Search Engine ประเภทนี้ได้รับความนิยมใช้งานจากผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลก โดยสิ่งที่ส่งเข้าไปเก็บข้อมูลถูกเรียกว่า Search Engine Robots หรืออาจเรียกว่า Search Engine Spider สองคำนี้ทางเว็บไซต์ค้นหาข้อมูลก็จะทำการตั้งชื่อเล่นเพื่อให้งานต่อการ เรียก คือ Googlebot(www.google.com) Slurp (www.yahoo.com) และ MSNbot (www.msn.com) 2. แบบสารบัญเว็บไซต์ (Web Directory) เว็บให้ความหมายนี้ก็คือหน้าเว็บเพจ (เอกสารทั่วไปที่อยู่บนอินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่อยู่ในรูป.html และอื่นๆ)ส่วนคำว่า Directory คือการจัดเก็บข้อมูลให้เป็นหมวดหมู่ เพื่อให้ง่ายต่อการค้นหาและเรียกใช้งาน ซึ่งก็คือคำว่า Floder (โฟลเดอร์ กล่องเก็บข้อมูลที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์วินโดว์) เว็บไดเรกทอรีจะอาศัยหลักการทำงานง่ายก็คือจะทำซอฟแวร์หรือชุดคำสั่งไว้ค่อย ให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมาเพิ่มเว็บไซต์ของตนตามหมวดหมู่ที่เตรียมไว้ให้หรือ อาจจะการเพิ่มหมวดหมู่ก็ได้ ถ้ามีผู้คนมาทำการเพิ่มเว็บไซต์เยอะเว็บต้องกล่าวก็อาจจะเป็นคล้ายสมุดหน้า เหลืองของบ้านเราเป็นได้ครับ เช่นเว็บ http://www.dmoz.org เป็นตัวอย่างของเว็บไดเร็กทอรีที่ได้รับความนิยมสูง อีกเว็บหนึ่ง 3. แบบอ้างอิงคำในแท็ก Meat Search Engine ว่ากันว่าเว็บ Search Engine ประเภทนี้ไม่มีเครื่อง Server สำหรับเก็บข้อมูลโดยตรง ไม่ได้หมายถึงเครื่องที่ทำเป็น Web server?นะครับ แต่จะอาศัยข้อมูลจากเว็บ Search Engine ประเภทอื่นๆ?เวลาทำงานก็จะทำการจดจำ Keyword:?คำสืบค้น?ที่อยู่ในชุดคำสั่ง Tag Meta?ของหน้าเอกสาร HTML หรือเว็บเพจที่อยู่บนอินเทอร์?นำมาประมวลผลร่วมกัน ตัวอย่างเว็บ Search Engine ครับwww.metacrawler.com?ทิ้งท้ายเรามาดูกันครับว่าในปัจจุบันผู้ใช้อินเทอร์เน็ตใช้ Search?Engine ในปริมาณเท่าใด

วันอาทิตย์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ใบงานที่ 2

ใบงานชิ้นที่ 2
ชื่อหน่วยงาน โรงเรียนบ้านปากแพรก
หมู่ที่ 8 ตำบลบางขัน อำเภอบางขัน จังหวัด นครศรีธรรมราช
ชื่อเรื่อง ผู้บริหารกับการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง
แนวคิดเกี่ยวกับความสำคัญของนวัตกรรมและสารสนเทศในยุคของการเปลี่ยนแปลง
1. บุคคล/หน่วยงานที่รู้จักจัดการความรู้ มีการจัดระบบข้อมูลสารสนเทศและคิดค้นนวัตกรรมที่เหมาะสมกับสภาพองค์กรจะทำให้องค์กรก้าวสู่ความสำเร็จ มีคุณภาพ ประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามเป้าหมาย รวมทั้งยังได้รับการสนับสนุนร่วมมือจากบุคคลทั้งภายในและภายนอกองค์กร
2. ในการบริหารสถานศึกษาหรือการบริหารองค์กรใดก็ตามผู้บริหารต้องอาศัยข้อมูลข่าวสาร และบริบทขององค์กรมาประมวลเป็นความรู้และจัดทำเป็นระบบสารสนเทศของสถานศึกษาเพื่อทุกคนสามารถเข้าถึงความรู้ และสามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการภายในสถานศึกษา เช่น การนำผลการศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับสภาพโรงเรียนไปใช้ในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกและสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน นำผลสรุปการศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับสภาพโรงเรียนไปใช้ในการจัดทำเอกสารแผนกลยุทธ์และกรอบประมาณการรายจ่ายล่วงหน้า
3. สารสนเทศจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการกำหนดทิศทาง ยุทธศาสตร์ และนโยบายขององค์กร
4. นวัตกรรมและสารสนเทศเป็นสิ่งจำเป็นต่อการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา ทำให้มีระบบและกลไกในการบริหารทรัพยากรทางการศึกษา ไม่ว่าจะเป็น ทรัพยากรการเงิน ทรัพยากรบุคคล ทรัพยากรด้านวัสดุอุปกรณ์ ทรัพยากรด้านการบริหารจัดการ
5. นวัตกรรมและสารสนเทศเป็นกลไกในการบริหารงานบุคคลที่จะช่วยส่งเสริมสมรรถนะในการปฏิบัติงาน ทำให้บุคลากรมีขวัญกำลังใจ มีการพัฒนาและรักษาคุณภาพในการปฏิบัติงาน รวมทั้งช่วยส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากรที่มีศักยภาพมีโอกาสประสบความสำเร็จและก้าวหน้าในอาชีพ/หน้าที่การงานอย่างรวดเร็วตามสายงาน
6. สารสนเทศทำการปฏิบัติงานในสถานศึกษาให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว มีระบบ และมีข้อมูลที่พร้อมใช้งานหรือรายงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนผู้มีส่วนได้เสียทันเวลา ทันเหตุการณ์ อย่างมีประสิทธิภาพ

วิสัยทัศน์
โรงเรียนบ้านปากแพรก จัดการศึกษาให้นักเรียนมีคุณธรรมนำความรู้ ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง และมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา
ยุทธศาสตร์
1. คุณธรรมนำความรู้น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ
2. จัดการศึกษาให้เด็กในเขตบริการได้เข้าเรียนทุกคน
3. พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ
4. ส่งเสริมความเข้มแข็งให้สถานศึกษา
5. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ชุมชน ภาคเอกชนและท้องถิ่นในการจัดการศึกษา
บริบทของสถานศึกษา
1. ข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียน
โรงเรียนบ้านปากแพรก ตั้งอยู่ หมู่ที่ 8 ตำบลบางขัน อำเภอบาขัน จังหวัดนครศรีธรรมราช รหัสไปรษณีย์ 80360 โทรศัพท์ ( 075 ) 371058 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
2. ประวัติโรงเรียนโดยสังเขป
โรงเรียนบ้านปากแพรก สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2481 โดยความร่วมมือในการก่อสร้างของพระสมุห์คล้าย ภาสุโร เจ้าคณะตำบลกะปางและผู้นำท้องถิ่นโดยสร้างเป็นอาคารชั่วคราว ในที่ดินบริจาคจำนวน 4 ไร่ 2 งาน เปิดสอนครั้งแรกเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2481 เปิดสอนในชั้น ป.1 - ป.2 และเปิดสอนถึง ชั้น ป.3 - ป.4 ในปีต่อมา ด้านอาคารเรียนได้ปรับปรุงหลายครั้งแต่ยังเป็นอาคารเรียนชั่วคราว
ต่อมาปี 2514 โรงเรียนได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียนเป็นเงิน 105,000 บาท แบบ
ป.1 ก ขนาด 4 ห้องเรียน และคณะกรรมการโรงเรียนได้ลงมติให้มาสร้างในที่ดินสงวนหมู่บ้าน
( หมู่ที่ 4 )
พ.ศ. 2518 ได้รับงบประมาณสร้างบ้านพักครู เป็นเงิน 28,000 บาท พ.ศ. 2521 ได้รับเงินงบประมาณ 12,000 บาท สร้างส้วม 1 หลัง 2 ที่นั่ง
24 พฤศจิกายน 2533 ได้รับเงินงบประมาณ 1,500 บาท สร้างส้วม 1 หลัง 2 ที่นั่ง
1 สิงหาคม 2526 ได้รับอนุมัติเปิดสอนถึงชั้น ป.6
2 มกราคม 2527 ได้รับงบประมาณสร้างอาคารอเนกประสงค์ แบบ 201/26 เป็นเงิน 280,000 บาท
พ.ศ. 2528 ได้รับงบประมาณ 55,000 บาท สร้างส้วม 1 หลัง 2 ที่นั่ง และถังน้ำฝนแบบ ฝ. 301 ชุด
พ.ศ. 2529 ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียนแบบ 102/2526 1 หลัง 3 ห้องเรียน และอนุมัติให้เปิดสอนชั้นเด็กเล็ก พ.ศ. 2530 ได้รับงบประมาณ 25,000 บาท สร้างเรือนเพาะชำ ปีการศึกษา 2538 ได้เปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล 1 - ชั้น ป. 6 มีครูประจำการ 8 คน นักการภารโรง 1 คน มีนักเรียน 145 คน
11 กุมภาพันธ์ 2542 โรงเรียนได้รับอนุมัติปรับปรุงตำแหน่งของ นายลิขิต รอดเสน จากตำแหน่งครูใหญ่ เป็นอาจารย์ใหญ่ และต่อมาได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียนบ้านห้วยระย้าและได้แต่งตั้ง นายประยุทธ์ รัตนคช รักษาการในตำแหน่งอาจารย์ใหญ่
16 เมษายน 2544 นายปรีชา อนุพัฒน์ ได้รับการแต่งตั้งย้ายมาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่และต่อมาได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 38 และได้นายจินดา อักษรนำ รักษาการในตำแหน่งอาจารย์ใหญ่
17 มกราคม 2546 นางอุไร ยวงนาค ได้รับการแต่งตั้งย้ายมาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ ต่อมาได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหน้าเขา และได้นายจินดา อักษรนำ รักษาการในตำแหน่งอาจารย์ใหญ่
5 กรกฎาคม 2550 นายบุญทัน ปุณประวัติ ได้รับการแต่งตั้งย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนจนถึงปัจจุบัน
3. สภาพปัจจุบันของโรงเรียนบ้านปากแพรก
โรงเรียนบ้านปากแพรก มีฐานะเป็นหน่วยงานย่อยของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

ข้อมูลเกี่ยวกับชุมชน
ลักษณะของชุมชนที่โรงเรียนตั้งอยู่ เป็นชุมชนชนบท ตั้งอยู่ในตำบลบางขัน อำเภอบางขัน จังหวัดนครศรีธรรมราช ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 60 กิโลเมตร ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 5 กิโลเมตร ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 100 นับถือศาสนาอื่น ๆ ไม่มี ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม การทำสวนยางพารา ปาล์มน้ำมัน การเลี้ยงปลา การเลี้ยงกบ การเลี้ยงสุกร และการเลี้ยงไก่
สภาพสังคม ชุมชนมีสิ่งอำนวยความสะดวกและสาธารณูปโภค คือ มีไฟฟ้า ถนนลาดยางสถานีอนามัย มีปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดในกลุ่มเยาวชน เล็กน้อยไม่รุนแรง ประชากรส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษา มีการศึกษาต่อ ร้อยละ 94.44 ไม่ศึกษาต่อร้อยละ 5.56 ออกกลางคันมีอัตราสูงมากคือ ร้อยละ 11.11 ชุมชนและองค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมและส่งเสริมสนับสนุนในการจัดการศึกษาปานกลาง
สถานที่ท่องเที่ยวส่วนใหญ่ จะเป็นที่ท่องเที่ยวธรรมชาติ ได้แก่ถ้ำ ภูเขา โรงเรียน มลพิษ จากควันพิษจากเสียงรถยนต์บ้าง เนื่องจากโรงเรียนอยู่ติดถนนใหญ่
ชุมชนมีภูมิปัญญาท้องถิ่น คือการเลี้ยงกบ การเลี้ยงปลา การประดิษฐ์ของใช้จากไม้ไผ่ อาชีพในท้องถิ่น ได้แก่ การทำสวนยางพารา การปลูกกาแฟ การเลี้ยงสุกร และการเลี้ยงไก่

โครงสร้างของหน่วยงาน

แผนภูมิบริหารงานโรงเรียนบ้านปากแพรก
ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านปากแพรก นายบุญทัน ปุณประวัติ
บริหารงานทั่วไป นางศิริวรรณ รัตนบุรี
บริหารงานบุคคล นางสุดา ถีระแก้ว
บริหารงบประมาณ นางพัชรียา เสนีย์
บริหารงานวิชาการ นางสาวมุกดา หนูสุวรรณ
สัมพันธ์ชุมชน นางยุพิน จันทร์โท

สภาพปัญหาหรือสิ่งที่ต้องการพัฒนา
สภาพปัญหา
1. โรงเรียนมีห้องเรียนไม่เพียงพอกับจำนวนนักเรียน รวมถึงห้องพิเศษต่าง ๆ เช่น ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องพยาบาล ห้องปฏิบัติการทางภาษา
2. ขาดแคลนครูในสาขาที่ต้องการ เช่น วิทยาศาสตร์ พละศึกษา
3. งบประมาณการจัดกิจกรรมอื่นๆ ที่นอกเหนือจากการเรียนการสอนไม่เพียงพอ
4. ขาดแคลนสื่อ ICT ให้นักเรียนได้เรียนรู้
5. นักเรียนชั้น ป.4 – ป.5 หลายคนอ่านหนังสือและเขียนหนังสือไม่คล่อง
6. หนังสือห้องสมุดมีไม่เพียงพอกับนักเรียน
7. นักเรียนขาดระเบียบวินัย ขาดความรับผิดชอบ
8. ครูไม่ได้เข้ารับการอบรม พัฒนาตนเอง เพื่อนำความรู้มาปรับเปลี่ยนกิจกรรมการเรียนการสอนให้ทันกับปัจจุบัน

สิ่งที่ต้องการพัฒนา
1. ของบประมาณสร้างอาคารเรียน เพื่อนักเรียนจะได้เรียนอย่างมีความสุข
2. ต้องการครูให้ครบทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
3. ร่วมมือกับองค์กรต่าง ๆ เพื่อสร้างห้องคอมพิวเตอร์ให้นักเรียน
4. จัดสอนซ่อมเสริมนักเรียนที่อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้
5. ผู้บริหารต้องสนับสนุน ส่งเสริมครู เข้ารับการรับอบรม หรือพัฒนาตนเองในเรื่องที่ตนเองสนใจ หรือในกลุ่มสาระที่ทำการสอนอยู่ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการจัดการเรียนการสอน
6. จัดหาหนังสือ สื่อที่มีประโยชน์ให้กับนักเรียน เพื่อนักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าในห้องสมุด


ผู้ให้ข้อมูล นางพัชรียา เสนีย์
หน่วยงาน โรงเรียนบ้านปากแพรก
ณ วันที่ 17 เดือน พฤศจิกายน 2552

วันพุธที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2552

แนะนำตัวเอง

พัชรียา อิ้ววังโส อาชีพรับราชการครู โรงเรียนบ้านปากแพรก อำเภอบางขัน จังหวัดนครศรีธรรมราช
จบการศึกษาระดับปริญญาตรี วิชาเอกคณิตศาสตร์ ระดับปริญญาโท สาขาการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน ปัจจุบันกำลังศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบริหารการศึกษา เป็นคนอารมย์ดีและน่ารักมากๆ

วันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ใบงานที่ 1 สรุปงาน สัปดาห์ที่ 3 (21 พ.ย. 52)

ใบงานที่ 1
สรุปองค์ความรู้ สัปดาห์ที่ 3 วันที่ 21 พฤศจิกายน 2552
การจัดการความรู้ เป็นเครื่องมือในการแปลงยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด โดยที่ความรู้มี 2 ประเภท คือ- ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาตญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่างๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม- ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่างๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่างๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรมบทบาทใหม่ของการบริหารทุนมนุษย์ การบริหารทุนมนุษย์ (Human Capital Management) ต่างจากการบริหารทรัพยากรบุคคล ตรงที่เน้นความสำคัญของคุณค่าหรือมูลค่าของคนและสิ่งที่คนในองค์กรผลิตหรือสร้างขึ้นมา แต่ไม่ได้เน้นหน้าที่ด้านการบริหารงานบุคคล ดังนั้น การบริหารทุนมนุษย์จึงเกี่ยวข้องกับการประเมินผลกระทบของกระบวนวิธีการบริหารทรัพยากรบุคคล (Impact of People Management Practice) และความทุ่มเทพยายามของคนต่อความสำเร็จขององค์กร มืออาชีพหลายคนอาจจะเข้าใจผิดว่าการบริหารทรัพยากรบุคคลหมดความสำคัญ และอาจจะไม่จำเป็นต้องทำไป แต่อย่างไรหน้าที่ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลก็ยังคงอยู่ต่อไป แต่ต้องทำอย่างมืออาชีพมากยิ่งขึ้น และต้องมีการปรับบทบาทการบริหารทรัพยากรบุคคลเสียใหม่ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปข้อมูล DATA - ข้อมูลดิบที่ยังไม่ได้ผ่านกระบวนการประเมินผล - กลุ่มของข้อมูลดิบที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานสารสนเทศ (Information ) - ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้ว - ผลรวมของข้อมูลที่มีความหมายความรู้ (Knowledge) ผลการขัดเกลาและเลือกใช้สารสนเทศโดยมีการจัดระบบ สร้างเป็นองค์ความรู้ความเฉลียวฉลาด (Wisdom) การนำเอาความรู้ต่างๆมาบูรณาการเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการทำงานในสาขาวิชาต่างๆเชาว์ปัญญา (Intelligent) ผลการปรับแต่งและความจดจำความเฉลียวฉลาดต่างๆ ซึ่งก่อให้เกิดความคิดที่ฉับไวรูปแบบการจัดการความรู้ ความรู้แบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ- ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาตญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่างๆ - ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่างๆวิธีการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้KM ไม่ทำไม่รู้ เรียนลัดและต่อยอดโมเดลปลาทู
“ โมเดลปลาทู” เป็นโมเดลอย่างง่าย ของ สคส. ที่เปรียบการจัดการความรู้ เหมือนกับปลาทูหนึ่งตัวที่มี ๓ ส่วน คือ๑ . ส่วน “ หัวปลา” (Knowledge Vision- KV) หมายถึง ส่วนที่เป็นเป้าหมาย วิสัยทัศน์ หรือทิศทางของการจัดการความรู้ โดยก่อนที่จะทำจัดการความรู้ ต้องตอบให้ได้ว่า “ เราจะทำ KM ไปเพื่ออะไร ?” โดย “ หัวปลา” นี้จะต้องเป็นของ “ คุณกิจ” หรือ ผู้ดำเนินกิจกรรม KM ทั้งหมด โดยมี “ คุณเอื้อ” และ “ คุณอำนวย” คอยช่วยเหลือ๒ . ส่วน “ ตัวปลา” (Knowledge Sharing-KS) เป็นส่วนของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญ ซึ่ง “ คุณอำนวย” จะมีบทบาทมากในการช่วยกระตุ้นให้ “ คุณกิจ” มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้ โดยเฉพาะความรู้ซ่อนเร้นที่มีอยู่ในตัว “ คุณกิจ” พร้อมอำนวยให้เกิดบรรยากาศในการเรียนรู้แบบเป็นทีม ให้เกิดการหมุนเวียนความรู้ ยกระดับความรู้ และเกิดนวัตกรรม๓ . ส่วน “ หางปลา” (Knowledge Assets-KA) เป็นส่วนของ “ คลังความรู้” หรือ “ ขุมความรู้” ที่ได้จากการเก็บสะสม “ เกร็ดความรู้” ที่ได้จากกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “ ตัวปลา” ซึ่งเราอาจเก็บส่วนของ “ หางปลา” นี้ด้วยวิธีต่างๆ เช่น ICT ซึ่งเป็นการสกัดความรู้ที่ซ่อนเร้นให้เป็นความรู้ที่เด่นชัด นำไปเผยแพร่และแลกเปลี่ยนหมุนเวียนใช้ พร้อมยกระดับต่อไปKnowledge Vision Knowledge Assets Knowledge Sharing KVKSKA ส่วนหัว ส่วนตามองว่ากำลังจะไปทางไหนต้องตอบได้ว่า “ ทำ KM ไปเพื่ออะไร”
กระบวนการจัดการความรู้ 1. กำหนดสิ่งที่ต้องการเรียนรู้ 2. แสวงหาความรู้ 3. จัดเก็บ และศึกษาหาความรู้ 4. การสร้างความรู้ 5. การประมวลและกลั่นกรองความรู้ 6. การถ่ายโอนและกลั่นกรองความรู้ 7. การแบ่งความรู้การวิเคราะห์และสังเคราะห์ความรู้ 1. การจับความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ 2. การวิเคราะห์ความรู้ที่จับได้ 3. การตรวจสอบความถูกต้องของความรู้ 4. การสังเคราะห์ให้เหมาะสมกับการใช้งานCoP(Community of Practice) ชุมชนนักปฏิบัติ คือ อะไร คือ ชุมชนที่มีการรวมตัวกัน หรือเชื่อมโยงกันอย่างไม่เป็นทางการ โดยมีลักษณะดังนี้- ประสบปัญหาลักษณะเดียวกัน- มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน ต้องการแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากกันและกัน- มีเป้าหมายร่วมกัน มีความมุ่งมั่นร่วมกัน ที่จะพัฒนาวิธีการทำงานได้ดีขึ้น- วิธีปฏิบัติคล้ายกัน ใช้เครื่องมือ และภาษาเดียวกัน- มีความเชื่อ และยึดถือคุณค่าเดียวกัน- มีบทบาทในการสร้าง และใช้ความรู้- มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกันและกัน อาจจะพบกันด้วยตัวจริง หรือผ่านเทคโนโลยี-มีช่องทางเพื่อการไหลเวียนของความรู้ ทำให้ความรู้เข้าไปถึงผู้ที่ต้องการใช้ได้ง่าย- มีความร่วมมือช่วยเหลือ เพื่อพัฒนาและเรียนรู้จากสมาชิกด้วยกันเอง- มีปฏิสัมพันธ์ต่อเนื่อง มีวิธีการเพื่อเพิ่มความเข้มแข็งให้แก่สายในทางสังคมทำให้เพิ่มพูนความรู้ที่ลึกซึ้งขึ้นเรื่อยๆ ในระดับที่ง่ายที่สุด ชุมชนนักปฏิบัติ คือ คนกลุ่มเล็กๆ ซึ่งทำงานด้วยกันมาระยะหนึ่ง มีเป้าหมายร่วมกัน และต้องการที่จะแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์จากการทำงาน กลุ่มดังกล่าวมักจะไม่ได้เกิดจากการจัดตั้งโดยองค์การ เป็นกลุ่มที่เกิดจากความต้องการทางสังคม และความพยายามที่จะทำให้บรรลุผลสำเร็จ เป็นกลุ่มที่ไม่มีอำนาจ ไม่มีการกำหนดไว้ในแผนภูมิโครงสร้างองค์กร และอาจจะมีเป้าหมายที่ขัดแย้งกับผู้นำองค์กร ในหนึ่งองค์กรอาจจะมีชุมชนนักปฏิบัติจำนวนมาก และคนคนหนึ่งจะเป็นสมาชิกในหลายชุมชน ชุมชนนักปฏิบัติมีความสำคัญอย่างไร เครือข่ายความสัมพันธ์ที่ไม่เป็นทางการ เกิดจากความใกล้ชิด ความพอใจ และพื้นฐานที่ใกล้เคียงกัน ลักษณะที่ไม่เป็นทางการจะเอื้อต่อการเรียนรู้ และการสร้างความรู้ใหม่ๆ มากกว่าโครงสร้างที่เป็นทางการ คำว่า ปฏิบัติ หรือ practice ใน CoP ชี้จุดเน้นที่ การเรียนรู้ซึ่งได้รับจากการทำงาน เป็นหลัก เป็นแง่มุมเชิงปฏิบัติ ปัญหาประจำวัน เครื่องมือใหม่ๆ พัฒนาการในเรื่องงาน วิธีการทำงานที่ได้ผล และไม่ได้ผล การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ทำให้เกิดการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนความรู้ฝังลึก สร้างความรู้ และความเข้าใจได้มากกว่าการเรียนรู้ จากหนังสือ หรือการฝึกอบรมตามปกติ เครือข่ายที่ไม่เป็นทางการ ซึ่งมีสมาชิกจากต่างหน่วยงาน ช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จได้ดีกว่า การสื่อสารตามโครงสร้างที่เป็นทางการ ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับชุมชนนักปฏิบัติอุปสรรคของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ - ไม่พูด ไม่คุย - ไม่เปิด ไม่รับ - ไม่ปรับ ไม่เรียน - ไม่เพียร ไม่ทำคลังความรู้ (Knowledge Assets) ประกอบด้วย 3 ส่วน 1.เรื่องเล่าหรือคำพูดที่เร้าใจ + 2. การถอดบทเรียนที่ได้ + 3. แหล่งข้อมูลบุคคลอ้างอิง (Tacit Knowledge) (Explicit Knowledge) (References)ข้อควรระวังในการทำ KS - ให้ share "เรื่องเล่า" ไม่ใช่ share "ความคิด" - เป็น Storytelling ไม่ใช่ Problem-solving ไม่ใช่ Planning - share แล้วต้อง Learn และ Learn แล้วต้อง Lead (นำ) ...นำสู่การกระทำ ...นำสู่ภาพที่ต้องการ"ทุกความสำเร็จในองค์กร ย่อมมาจากกลยุทธ์การวางแผน การปฏิบัติ และการจัดการอย่างมืออาชีพ"

การจัดการความรู้บทบาทใหม่ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์1. ผู้ดูแลทุนมนุษย์ ( Human Capital Steward )2. ผู้ประสานสัมพันธ์ ( Knowledge Facilitator )3. ผู้อำนวยความรู้ ( Relationship Bulder )4. ผู้มีอาชีพที่เฉพาะ ( Raped Deployment Sepecidist )ความรู้คืออะไร1. Knowledge Capital เป็นต้นทุน องค์กร ทรัพยากรมนุษย์2. ความสามารถในการทำให้สารสนเทศ และข้อมูลมาเป็นการกระทำที่มีประสิทธิภาพได้3. ส่วนผสมของกรอบประสบการณ์ คุณค่า สารสนเทศ และความเชี่ยวชาญข้อมูล สารสนเทศ ความรู้ ความเฉลียวฉลาด และเชาว์ปัญญาข้อมูล ข้อมูลดิบที่ยังไม่ได้ผ่านกระบวนการประมวลผล กลุ่มของข้อมูลดิบที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานสารสนเทศ ข้อมูลที่ผ่านกระบวนการประมวลผลแล้ว ผลรวมของข้อมูลที่มีความหมายความรู้ ผลจากการขัดเกลาและเลือกใช้สารสนเทศโดยมีการจัดระบบความคิด เกิดเป็นความรู้ และความเชี่ยวชาญความเฉลียวฉลาด การนำเอาความรู้ต่างๆ มาบูรณาการเข้าด้วยกันเพื่อใช้ให้เกิดประโยชน์ ต่อทำงานในสาขาต่างๆเชาว์ปัญญา ผลจากการปรับแต่งและจดจำความเฉลียวฉลาดต่างๆ ซึ่งก่อให้เกิดความคิดที่ฉับไวรูปแบบของความรู้ประเภทของความรู้กับการจัดการรู้ความรู้อาจแบ่งได้ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือความรู้เด่นชัด (Explicit Knowledge) คือ ความรู้ที่อยู่ในรูปแบบที่เป็นเอกสาร หรือ วิชาการ อยู่ในตำรา การจัดการจะเน้นการเข้าถึงแหล่งความรู้ ตรวจสอบและตีความได้ เมื่อนำไปใช้จะเกิดความรู้ใหม่ เพื่อให้ผู้อื่นใช้อ้างอิงต่อไปความรู้ซ่อนเร้น (Tacit Knowledge) เป็นความรู้แฝงอยู่ในตัวคน เป็นประสบการณ์ที่สั่งสม มายาวนาน เป็นภูมิปัญญา การจัดการความรู้แบบนี้ จะเน้นที่การจัดเวทีเพื่อให้มีการแบ่งปันความรู้ที่มีอยู่ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน อันนำไปสู่ความรู้ใหม่ที่จะนำไปใช้งานต่อไปซึ่งในสภาพความเป็นจริง ความรู้ทั้ง 2 ประเภทเหล่านี้ มีการสับเปลี่ยนสภาพกันตลอดเวลา การจัดการความรู้ จึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพความรู้เช่นโมเดลปลาทู การจัดการความรู้ในรูปแบบของ “โมเดลปลาทู” ที่แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนหัวปลา หรือส่วนของเป้าหมายของการจัดการความรู้ (Knowledge Management Vision), ส่วนของตัวปลา หรือส่วนของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Knowledge Sharing) และส่วนของหางปลา หรือตัวคลังความรู้ (Knowledge Assets)กระบวนการจัดการความรู้1. กำหนดสิ่งที่ต้องการเรียนรู้2. แสวงหาความรู้3. จัดเก็บ และศึกษาหาความรู้ 4. การสร้างความรู้ 5. การประมวลและกลั่นกรองความรู้ 6. การถ่ายโอนและกลั่นกรองความรู้ 7. การแบ่งความรู้การวิเคราะห์และสังเคราะห์ความรู้1. การจับความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ 2. การวิเคราะห์ความรู้ที่จับได้ 3. การตรวจสอบความถูกต้องของความรู้ 4. การสังเคราะห์ให้เหมาะสมกับการใช้งานสร้างระบบสารสนเทศจัดการเรียนรู้การจัดเก็บความรู้เป็นระบบการค้นหาและเรียกใช้ความรู้การให้ความรู้ร่วมกันและการกระจายความรู้ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน COP ย่อมาจาก Community of Practice หมายถึง ชุมชนนักปฏิบัติ หรือ ชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่รวบรวมกลุ่มคนที่มีความรู้ความสนใจในเรื่องเดียวกัน มาร่วมแลกเปลี่ยน แบ่งปัน เรียนรู้ในเรื่องนั้น ๆ ร่วมกัน เพื่อได้มาซึ่ง Knowledge Assets : KA หรือ ขุมความรู้ ในเรื่องนั้น ๆ สำหรับคนในชุมชนเพื่อไปทดลองใช้ แล้วนำผลที่ได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสมาชิก อันส่งผลให้ความรู้นั้น ๆ ถูกยกระดับขึ้นเรื่อย ๆ ผ่านการปฏิบัติ ประยุกต์ และปรับใช้ตามแต่สภาพแวดล้อมและสถานการณ์ที่หลากหลาย อันทำให้งานบรรลุผลดีขึ้นเรื่อย ๆCOP เป็น 1 ใน เครื่องมือของการจัดการความรู้ (KM Tools) ประเภท Non-Technical Tools สำหรับการดึงความรู้ประเภท Tacit Knowledge หรือ ความรู้ที่อยู่ในตัวบุคคล ซึ่งซ่อนเร้นอยู่ภายในลักษณะที่สำคัญของ COP• กลุ่มคนที่รวมตัวกันโดยมีความสนใจและความปรารถนา (Passion) ร่วมกันในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง (มี Knowledge Domain)• ปฏิสัมพันธ์และสร้างความสัมพันธ์ในกลุ่ม เป็นชุมชน (community) ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน• แลกเปลี่ยนและพัฒนาความรู้ร่วมกัน ต้อง Practice และสร้างฐานข้อมูล ความรู้ หรือแนวปฏิบัติประโยชน์ของ COPระยะสั้น• เวทีของการแก้ปัญหา ระดมสมอง• ได้แนวคิดที่หลากหลายจากกลุ่ม• ได้ข้อมูลมากขึ้นในการตัดสินใจ• หาทางออก/คำตอบที่รวดเร็ว• ลดระยะเวลา และการลงทุน• เกิดความร่วมมือ และการประสานงานระหว่างหน่วยงาน• ช่องทางในการเข้าหาผู้เชียวชาญ• ความมั่นใจในการเข้าถึงและแก้ปัญหา• ความผูกพันในกรเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม• ความสนุกที่ได้อยู่กับเพื่อนร่วมงาน• ได้รู้จักเพื่อนใหม่ที่มีหลายสิ่งหลายอย่างคล้ายกัน รวมทั้งอาจกำลังเผชิญปัญหาที่คล้ายคลึงกัน เมื่อได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์จะทำให้ค้นพบวิธีแก้ปัญหาระยะยาว• เสริมสร้างวัฒนธรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ขององค์กร• เกิดความสามารถที่ไม่คาดการณ์ไว้• วิเคราะห์ความแตกต่างและตั้งเป้าหมายการปรับปรุงได้อย่างมีประสิทธิภาพ• แหล่งรวบรวมและเผยแพร่วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ• เกิดโอกาสพัฒนาองค์กรอย่างก้าวกระโดด• เครือข่ายของกลุ่มวิชาชีพ• ชื่อเสียในวิชาชีพเพิ่มขึ้น• ได้รับผลตอบแทนจากการจ้างงานสูงขึ้น• รักษาคนเก่งให้อยู่กับองค์กรได้• เพิ่มโอกาสในการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ในองค์กร• ขับเคลื่อนให้องค์กรบรรลุเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ลักษณะการทำ COP- แบบกลุ่มเล็ก และกลุ่มใหญ่- แบบเป็นทางการ (Public) - เปิดเผย และไม่เป็นทางการ (Private) - ส่วนตัว- แบบบนลงล่าง (Top Down) และรากหญ้า (Grass Root)- แบบแยกฝ่าย และคละฝ่าย- แบบคนในองค์กร-คนในองค์กร และคนในองค์กร-คนนอกองค์กร- แบบระหว่างคน-คน และระหว่างคน-สื่อ-คนKs ที่ดีต้องมีทั้ง Explicit และ TacitExplicit ต้องมีวิชาการ ทฤษฎี มาจากการสังเคราะห์วิจัยใช้สมอง เป็นกฎเกณฑ์ วิธีการ ขั้นตอนที่ผ่านการพิสูจน์Tacit ภูมิปัญญา เคล็ดวิชา ปฏิบัติ ประสบการณ์ มากจากวิจารณญาณ เป็นเทคนิค เฉพาะตัว เป็นลูกเล่นของแต่ละคน คลังความรู้ที่ดี
เขียนโดย kalyarat5236
ป้ายกำกับ: การจัดการความรู้

นางพัชรียา เสนีย์
รหัส 5246701010
ประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา

อธิบายความหมายของคำสำคัญต่อไปนี้

การจัดการ คือ กระบวนการ (Process) ของการวางแผน (Planning) การจัดองค์การ(Organization) การสั่งการ (Leading) และการควบคุม (Controlling) ความพยายามของสมาชิกในองค์การและการใช้ทรัพย์กรต่าง ๆ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่องค์การกำหนดไว้
การจัดการ (Management) หรืออาจจะเรียกว่า การบริหาร หรือ การบริหารจัดการ หมายถึง ชุดของหน้าที่ต่าง ๆ ที่กำหนดทิศทางในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทั้งหลายอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ (Efficient) หมายถึง การใช้ทรัพยากรอย่างเฉลียวฉลาด และคุ้มค่า ส่วนการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิผล (Effective) หมายถึงการตัดสินใจอย่างถูกต้อง และมีการปฏิบัติการได้สำเร็จตามแผนที่กำหนดไว้ ดังนั้น ผลสำเร็จของการจัดการต้องมีทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผลควบคู่กันไป
นวัตกรรม หมายถึง ความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย
เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology) ตามรูปศัพท์ เทคโน (วิธีการ) + โลยี(วิทยา) หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา ครอบคลุมระบบการนำวิธีการ มาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้นเทคโนโลยีทางการศึกษาครอบคลุมองค์ประกอบ 3 ประการ คือ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ (boonpan edt01.htm)
เทคโนโลยีทางการศึกษา หมายถึง การประยุกต์เอาเทคนิควิธีการ แนวความคิด อุปกรณ์และเครื่องมือใหม่ๆ มาใช้เพื่อช่วยแก้ปัญหาทางการศึกษาทั้งในด้านการขยายงานและด้านการปรับปรุงคุณภาพของการเรียนการสอน ข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริง หรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เช่น บุคคล สิ่งของสถานที่ ฯลฯ ข้อมูลเป็นเรื่องเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องข้อมูลต้องถูกต้องแม่นยำครบถ้วนขึ้นอยู่กับผู้ดำเนินการที่ให้ความสำคัญของความรวดเร็วของการเก็บข้อมูล ข้อมูล (Data) หมายถึง กลุ่มตัวอักขระที่เมื่อนำมารวมกันแล้วมีความหมายอย่างใดอย่างหนึ่งและมีสำคัญควรค่าแก่การจัดเก็บเพื่อนำไปใช้ในโอกาสต่อ ๆ ไป ข้อมูลมักเป็นข้อความที่อธิบายถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง อาจเป็นตัวอักษร ตัวเลข หรือสัญลักษณ์ใด ๆ ที่สามารถนำไปประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ได้
ข้อมูล (Data) หมายถึง ข่าวสาร เอกสาร ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับบุคคล สิ่งของหรือเหตุการณ์ที่มีอยู่ในรูปของตัวเลข ภาษา ภาพ สัญลักษณ์ต่างๆ ที่มีความหมายเฉพาะตัว ซึ่งยังไม่มีการประมวลไม่เกี่ยวกับการนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ หรืออาจกล่าวได้ว่า สารสนเทศ เกิดจากการนำข้อมูล ผ่านระบบการประมวลผล คำนวณ วิเคราะห์และแปลความหมายเป็นข้อความที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น สารสนเทศที่เป็น ความรู้ที่เกิดจากวิทยุ โทรศัพท์มือถือ ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ รอบตัวเราซึ่งอาจมาจาก วิทยุ โทรทัศน์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ดาวเทียม โทรศัพท์ เครื่องจักร ที่เกี่ยวกับสารสนเทศได้ เครื่องคอมพิวเตอร์ ระบบสื่อสารโทรคมนาคมสมัยใหม่ เช่น การฝาก ถอนเงินผ่านเครื่อง ATM การจองตั๋วเครื่องบิน การลงทะเบียน ฯลฯ
สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลต่างๆ ที่ได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงหรือมี การประมวลหรือวิเคราะห์ผลสรุปด้วยวิธีการต่างๆ ให้อยู่ในรูปแบบที่มีความสัมพันธ์กัน มีความหมาย มีคุณค่าเพิ่มขึ้นและมีวัตถุประสงค์ในการใช้งาน (ไพโรจน์ คชชา, 2542)
สารสนเทศ (Information) หมายถึง ความรู้หรือข้อมูลและข้อเท็จจริงต่างๆ ที่ได้รับการประมวลแล้วและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ (มนตรี ดวงจิโน, 2546)
" กล่าวโดยสรุป สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้วสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้"

ระบบสารสนเทศ (Information System ) หมายถึง ระบบที่มีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการรวบรวม จัดเก็บ หรือจัดการกับข้อมูลข่าวสารเพื่อให้ข้อมูลนั้นกลายเป็นสารสนเทศที่ดี สามารถนำไปใช้ในการประกอบการตัดสินใจได้ในเวลาอันรวดเร็วและถูกต้อง
ระบบสารสนเทศ (Information System) คือ กระบวนการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลซึ่งทำให้เป็นสารสนเทศ การจัดเก็บและการนำเสนอสารสนเทศให้เป็นปัจจุบันทันเหตุการณ์
ระบบสารสนเทศ (Information System) หมายถึง ขบวนการประมวลผลข่าวสารที่มีอยู่ให้อยู่ในรูปของข่าวสารที่เป็นประโยชน์สูงสุด เพื่อเป็นข้อสรุปที่ใช้สนับสนุนการบริหารและการตัดสินใจทั้งในระดับปฏิบัติการ ระดับกลาง และระดับสูง ระบบสารสนเทศจึงเป็นระบบที่ได้จัดตั้งขึ้นเพื่อปฏิบัติการเกี่ยวกับข้อมูลตังต่อไปนี้ 1. รวบรวมข้อมูลทั้งภายใน ภายนอก ซึ่งจำเป็นต่อหน่วยงาน 2. จัดกระทำเกี่ยวกับข้อมูลเพื่อให้เป็นสารสนเทศที่พร้อมจะใช้ประโยชน์ได้ ระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา หมายถึง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานด้านการศึกษา อันได้แก่ การจัดเก็บข้อมูล และประมวลผลฐานข้อมูล การพัฒนาระบบสารสนเทศ ช่วยการเรียนการสอน การวางแผนและการบริหารการศึกษา การวางแผนหลักสูตร การแนะแนวและบริการ การทดสอบวัดผล การพัฒนาบุคลากร
การสื่อสาร (Communication) หมายถึง กระบวนการส่งข่าวสารข้อมูลจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกิริยาตอบสนองกลับมา โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ
การสื่อสาร (Communication) คือ กระบวนการถ่ายทอดสารจากผู้ส่งสารผ่านสื่อต่าง ๆ ที่อาจเป็นการพูด การเขียนการแสดงการจัดกิจกรรม ฯลฯ ไปยังผู้รับสารอย่างมีวัตถุประสงค์ ทำให้เกิดการรับรู้ร่วมกันมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อกัน สามารถปรับเปลี่ยนวิธีการให้เหมาะสมกับบริบททางการสื่อสารเพื่อให้การสื่อสารสัมฤทธิ์ผล
เครือข่าย หมายถึง กลุ่มของคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ถูกนำมาเชื่อมต่อกันดังนั้นเครือข่ายคอมพิวเตอร์จึงประกอบด้วยสื่อการติดต่อสื่อสาร อุปกรณ์ และซอฟต์แวร์ที่จำเป็นในการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 ระบบเข้าด้วยกัน รวมทั้งอุปกรณ์อื่น ๆ
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หมายถึง เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับข่าวสาร ข้อมูลและการสื่อสารนับตั้งแต่การสร้าง การนำมาวิเคราะห์ หรือประมวลผลการรับและส่งข้อมูล การจัดเก็บและการนำไปใช้ใหม่ เทคโนโลยีเหล่านี้ มักจะหมายถึง คอมพิวเตอร์ซึ่งประกอบด้วยอุปกรณ์ (hardware) ส่วนคำสั่ง (software) และส่วนข้อมูล (data) และระบบการสื่อสารต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ระบบสื่อสารข้อมูล ดาวเทียม หรือเครื่องมือสื่อสารใดๆ ทั้งมีสายและไร้สาย
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา หมายถึง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับข่าวสาร ข้อมูลและการสื่อสารสารสนเทศกับงานด้านการศึกษา อันได้แก่ การจัดเก็บข้อมูล และประมวลผลฐานข้อมูล การพัฒนาระบบสารสนเทศช่วยการเรียนการสอน การวางแผนและการบริหารการศึกษา การวางแผนหลักสูตร การแนะแนวและบริการ การทดสอบวัดผล การพัฒนาบุคลากร

เทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งเป็นที่นิยมประยุกต์ใช้ในปัจจุบัน อาทิ
1. ระบบสารสนเทศช่วยในการเรียนการสอน2. การสอนทางไกลผ่านดาวเทียม3. การประชุมทางไกลระบบจอภาพ4. ระบบฐานข้อมูลการศึกษา5. ระบบสารสนเทศเอกสาร

อ้างอิง

http://guru.sanook.com/answer/question/
http://school.obec.go.th/sup_br3/t_1.htm
http://www.school.net.th/library/create-web/10000/generality/10000-5437.html
http://www.chakkham.ac.th/technology/techno1/c2-2.htm
http://www.csjoy.com/story/net/tne.htm
http://onzonde.multiply.com/journal/item/91/91
http://www.sc.chula.ac.th/courseware/2300150
http://learners.in.th/blog/mooddang/256432



ผู้ให้ข้อมูล นางพัชรียา เสนีย์ เลขที่ 010