? ??????????????????? ????Easy Install Instructions:???1. Copy the Code??2. Log in to your Blogger account
and go to "Manage Layout" from the Blogger Dashboard??3. Click on the "Edit HTML" tab.??4. Delete the code already in the "Edit Template" box and paste the new code in.??5. Click "S BLOGGER TEMPLATES AND TWITTER BACKGROUNDS ?

วันพุธที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ใบงานที่ 8

ใบงานที่ 8
ความหมายของสถิติ
สถิติมีความหมาย 2 อย่างคือ
1 หมายถึง ตัวเลขหรือกลุ่มของตัวเลขที่แสดงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องหนึ่งแรื่องใดเช่นสถิติเกี่ยวกับปริมานน้ำฝน สถิติการเกิดอัคคีภัย เป็นต้น
2 หมายถึง วิชาที่เป็นทั้งวิทยาศาสตร์และศิลป ว่าด้วยการศึกษาที่เกี่ยวกับข้อมูล ซึ่งประกอบด้วย การเก็บรวบรวมข้อมูล ( collection of date) การนำเสนอข้อมูล( presentation of date)
การวิเคราะข้อมูล (analysis of date) ความหมายข้อมูล (interpretation of data )
ในความหมายที่สอง หมายถึง วิธีการที่เริ่มต้นตั้งแต่การเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งมีหลายวิธีเพราะต้องเก็บข้อมูลที่ถูกต้อง เหมาะสม ถ้าได้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง หรือไม่เหมาะสมข้อมูลเหล่านี้ย่อมใช้ไม่ได้ หรือใช้ได้แต่เพียงส่วนน้อยข้อมูลที่เก็บรวบรวมมา จำเป็นจะต้องมีการนำมาจัดใหม่ให้ดูง่ายหรือเป็นระเบียบ การจัดข้อมูลใหม่อาจใช้ตาราง กราฟ หรือรูปภาพขั้นตอนนี้เรียกว่าการนำเสนอข้อมูล
ค่าเฉลี่ย ( Mean) หมายถึง ค่าที่ได้จากการนำคะแนนทั้งหมดมารวมกันแล้วหารด้วยจำนวนคะแนนทั้งหมด
มัธยฐาน (Median) หมายถึงค่าคะแนนที่อยู่ตรงกลางของข้อมูลแต่ละชุดเมื่อรียงลำดับข้อมูลจากมากไปหาน้อยหรือจากน้อยไปหามาก
ฐานนิยม (Mode) หมายถึงค่าของคะแนนที่มีความถี่สูงสุดของข้อมูลชุดหนึ่ง ๆ ถ้าข้อมูลชุดใดมีค่าความถี่สูงสุดมากกว่า 1 ค่า ข้อมูลชุดนั้นก็มีฐานนิยมมากกว่า 1 ค่า หรือถ้าข้อมูลชุดใดมีค่าความถี่สูงสุดเท่า ๆ กันทุกค่า ข้อมูลนั้นไม่มีฐานนิยม
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standand deviation) หมายถึง รากที่สองของค่าเบี่ยงเบนของข้อมูลแต่ละตัวจากค่าเฉลี่ยยกกำลังสอง เป็นการวัดการกระจายที่บอกว่า ข้อมูลแต่ละตัวกระจายไปจากตำแหน่งมากน้อยเพียงใด ถ้าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่ามากแสดงว่าข้อมูลของแต่ละคนในกลุ่มแตกต่างกันมาก ถ้ามีค่าน้อยแสดงว่า แสดงว่าข้อมูลของแต่ละคนในกลุ่มนั้นใกล้เคียงกัน
ประชากร (Population) หมายถึง หน่วยของข้อมูลทุกหน่วยที่อยู่ในขอบเขตของการวิจัยอาจจะเป็น คน สัตว์ สิ่งของ หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ หน่วยของข้อมูลจะมีมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการวิจัยว่าสนใจจะศึกษาขอบเขตแค่ไหน
กลุ่มตัวอย่าง (Sample) หมายถึง หน่วยของข้อมูลบางหน่วยที่ถูกเลือกมาจากประชากรเพื่อใช้เป็นตัวแทนของประชากรทั้งหมด และผู้วิจัยจะศึกษากับกลุ่มที่เป็นตัวแทนนี้แล้วอ้างอิงไปยังประชากร
ประชากรเป็นหน่วยของข้อมูลทุกหน่วยที่อยู่ในขอบเขตของการวิจัย และกลุ่มตัวอย่างเป็นหน่วยข้อมูลบางหน่วยที่ถูกเลือกมาจากประชากร หรือกล่าวว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นส่วนหนึ่งของประชากร
นามบัญญัติ เป็นการวัดทีกำหนดชื่อหรือตัวเลขให้แก่สิ่งต่าง ๆ ข้อมูลที่ได้เป็นการจะแนกกลุ่มหรือประเภทเพียงอย่างเดียว
เรียงลำดับที่ เป็นการวัดโดยการจัดอันดับให้แก่สิ่งของของต่าง ๆ ข้อมูลที่ได้บ่งบอกถึงการจำแนกกลุ่ม และเรียนลำดับความมากน้อย
ระดับช่วง เป็นการวัดโดยการแบ่งช่วงสิ่งที่ต้องการศึกษาออกป็นช่วง ๆ โดยแต่ละช่วงมีขนาดเท่ากัน
อัตราส่วน เป็นการวัดโดยการแบ่งช่วงของสิ่งที่ต้องการศึกษาออกเป็นช่วง ๆ เหมือนอันตรภาคชั้นแต่มาตรานี้มีศูนย์แท้

ความหมายของตัวแปร
ตัวแปร (variable) หมายถึง คุณลักษณะที่สามารถแปรเปลี่ยนหรือเปลี่ยนค่าได้ ซึ่งต้องมีอย่างน้อย 2 ค่า เช่น เพศ แปรค่าได้เป็น เพศชาย ละเพศหญิง ระดับการศึกษา แปรค่าได้หมายค่า เช่น ต่ำกว่าปริญญาตรี ปริญญาตรี สูงกว่าปริญญาตรี
ตัวแปรต้น (Independent variable) หมายถึง ตัวแปรที่เป็นต้นเหตุหรือตังแปรที่มาก่อนตัวแปรตาม เช่น ตัวแปรอาชีพกับตัวแปรรายได้ อาชีพย่อมเกิดขึ้นก่อนรายได้ อาชีพจึ้งเป็นตัวแปรต้น
ตัวแปรตาม (Dependent variable) หมายถึง ตัวแปรที่มาทัหลัง หรือตัวแปรที่เป็นผลตามมาจากการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรต้น
สมมุติฐาน (Hypothesis) หมายถึง เป็นการค่ดคะเนความสืพันธ์ของตัวแปรตั้งแต่สองตัวขึ้นไปไว้ล่วงหน้าอย่างมีเหตุผลเพื่อตอบปัญญาวิจัย
สมมุติฐานแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ สมมมุติฐานการวิจัย และสมมุติฐานทางสถิติ
1. สมมมุติฐานการวิจัย (Research hypothesis) แบ่งได้ดังนี้
1.1 สมมุติฐานแบบมีทิศทาง
1.2 สมมุติฐานแบบไม่มีทิศทาง
2. สมมุติฐานทางสถิติ (Directional hypothesis)
2.1 สมมุติฐานหลัก
2.2 สมมุติฐานรอง
2.2.1 สมมุติฐานแบบไม่มีทิศทาง
2.2.2 สมมุติฐานแบบมีทิศทาง
T- test เป็นการทดสอบนัยสำคัญของค่าเฉลี่ย เหมาะสำหรับตังแปรเชิงปริมาณที่สามารถวัดค่าได้
F- test หรือ ANOVA เป็นการทดสอบนัยสำคัญของค่าเฉลี่ยตั้งแต่สองกลุ่มขึ้นไป

0 ความคิดเห็น: